ผ้าซิลิก้าเหมาะกับงานเชื่อมประเภทใด
ผ้าซิลิก้าเหมาะกับงานเชื่อมระยะใกล้ไม่เกิน 30-50 ซ.ม.หรืองานที่ต้องมีการตัดเหล็กโดยใช้แก๊สเป่า
ทำไมผ้าซิลิก้าจึงมีราคาสูงกว่าผ้าใยแก้ว
ผ้าซิลิก้ามีราคาสูงกว่าผ้าใยแก้วเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องทำให้มี silicon oxide มากกว่าร้อยละ 94-96 ในขณะที่ผ้าใยแก้วมีส่วนประกอบของ silicon oxide แค่ร้อยละ 56-58 หรือพูดได้ว่ากระบวนการผลิตที่ต่างกันทำให้ราคาของผ้าสองชนิดนี้ต่างกันพอสมควร รวมถึงการทนอุณหภูมิที่ต่างกันเป็นเท่าตัว ทำให้ผ้าซิลิก้ามีราคาสูงกว่าผ้าใยแก้วค่ะ
ผ้าซิลิก้ามีน้ำหนักเท่าไรต่อตารางเมตร
ประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเมื่อตัดเย็บเสร็จแล้ว สำหรับความหนาผ้าที่ 1.3 ม.ม. ค่ะ
ความหนาที่ต่างกันของผ้าซิลิก้า มีผลต่อการใช้งานอย่างไรบ้าง
ผ้าซิลิก้าที่มีความหนามากกว่า จะทนอุณหภูมิจากลูกไฟเชื่อมได้นานกว่า แต่หากนำไปตัดเย็บฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ที่ต้องสัมผัสกับผิวฮีทเตอร์หรือชิ้นงานไม่เกิน 600C ก็ให้ผลไม่ต่างกัน เว้นแต่ว่าเมื่อโดนของมีคม ผ้าซิลิก้าตัวบางจะเกิดการฉีกขาดหลุดลุ่ยได้เร็วกว่าผ้าซิลิก้าตัวหนา
การรักษาผ้าซิลิก้าให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ต้องทำอย่างไร
ผ้าซิลิก้ามีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงมากก็จริง (สูงถึง 900-1000C) แต่ลักษณะการทอและโครงสร้างของตัวผ้าจะไม่ทนต่อของมีคมหรือการใช้งานในลักษณะกระชากลากถู (poor abrasive resistant) การยืดอายุการใช้งานของผ้าซิลิก้า จึงทำได้โดยการระมัดระวังไม่ให้เนื้อผ้าไปเกี่ยวหรือครูดกับของแหลมคมที่อยู่บริเวณใกล้เคียงการใช้งาน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้ผ้าซิลิก้าได้นานจนคุ้มค่า